วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

หลวงพี่มหา...เล่าเรื่องวัดพระธรรมกาย ฉบับ ตอบคำถาม

กระแสโดยทั่วไป...มองว่า วัดพระธรรมกาย มีลักษณะที่แตกต่างซึ่งไม่เป็นที่คุ้นเคยของผู้คน
ขอความกรุณาหลวงพี่ช่วยให้คำอธิบายให้เข้าใจสักหน่อยค่ะ


...
เวลาที่หลวงพี่ต้องตอบข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับวัดให้นิสิต นักศึกษา
หรือครูอาจารย์ฟัง  หลวงพี่จะขอตอบเป็นประเด็น
เรียงตามองค์ประกอบของศาสนาในเชิงวิชาการ
ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ๆ ๕ อย่าง คือ ...
1.ศาสดา
2.ศาสนธรรม
3.ศาสนบุคคล (บางแห่งแยกเป็นศาสนิกชนด้วย)
4.ศาสนสถาน (รวมถึงศาสนวัตถุและสัญลักษณ์ทางศาสนา) และ 
5.ศาสนพิธี 
เพื่อไม่ให้สับสนประเด็น
และเห็นภาพรวมของวัดในเชิงองค์ประกอบทางศาสนาได้อย่างชัดเจน

            ๑. ศาสดา

            หลาย ๆ ท่านที่ฟังข่าวคราวเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายจากสื่อต่าง ๆ อาจจะคิดว่า
หลวงพ่อธัมมชโยไม่ให้ความเคารพในพระพุทธเจ้า ตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิ เป็นศาสดาเสมอกับพระพุทธเจ้า ฯลฯ  หลวงพี่อยากจะให้ข้อสังเกตในเรื่องนี้ไว้ ๓ ประเด็นนะ
                        ๑) ที่มหาธรรมกายเจดีย์ ตรงที่เห็นเป็นสีทอง ๆ นั้น เป็นพระพุทธรูปทั้งหมดจำนวน ๓ แสนองค์ ภายในเจดีย์บรรจุพระพุทธรูปอีก ๗ แสนองค์ รวมเป็น ๑ ล้านองค์
ซึ่งพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นนี้ถูกเคลือบผิวด้วยประจุทองคำ 
นอกจากนี้ ในเจดีย์ยังมีพระประธาน ขนาดหน้าตัก ๔.๕ เมตร ซึ่งหล่อด้วยเงิน
มีน้ำหนักประมาณ ๑๔ ตัน
ถามว่า ถ้าไม่เคารพพระพุทธเจ้า
จะสร้างพระพุทธรูปเยอะขนาดนี้ไหม ?
จะใช้วัสดุที่สูงค่ามาทำไหม ?


ยิ่งไปกว่านั้น ทางวัดยังจัดให้มีโครงการบูชาพระเจดีย์
ให้พระเณร และญาติโยมได้มากราบไหว้บูชามหาธรรมกายเจดีย์ทุกวัน
วันละ ๒ ครั้ง เช้า – เย็น 
สิ่งเหล่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นถึงความเคารพในพระพุทธเจ้า
ในพระรัตนตรัยของหลวงพ่อ ของชาววัดพระธรรมกายหรือ
?

                        ๒) ในงานพุทธศิลป์ของทางวัดพระธรรมกาย
ไม่ว่าจะเป็นงานปั้นพระพุทธรูป หรือว่าภาพวาดพุทธประวัติ
หลวงพ่อธัมมชโยจะใส่ใจในรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะมหาบุรุษ
ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก 
ท่านจะพยายามให้ปั้น หรือวาดให้ตรงกับลักษณะมหาบุรุษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ตอนเด็ก ๆ หลวงพี่เคยคิดนะ ในคัมภีร์บอกว่า ...
พระพุทธเจ้ามีพระรูปโฉมงดงาม เป็นคนที่หล่อที่สุดในภพสามก็ว่าได้ 
แต่พอไปไหว้พระตามวัดต่าง ๆ ก็เกิดความคิดว่า ถ้าให้เราหน้าตาหล่อแบบพระพุทธรูป
หรือภาพพุทธประวัติตามฝาผนังที่เราเคยเห็น เราจะเอาไหม 

แต่พอมาเห็นพระประธานในโบสถ์วัดพระธรรมกาย
หรือภาพวาดพระพุทธเจ้าในปกหนังสือสวดมนต์ของทางวัด หลวงพี่รู้สึกว่าใช่
ที่คัมภีร์บอกว่าพระพุทธเจ้าของพวกเรารูปงาม ต้องประมาณนี้แหละ 
พวกเราคิดว่า คนที่ให้ความสำคัญในการปั้นพระ ในงานเขียนพุทธประวัติมากขนาดนี้
ทุ่มเทปั้นแล้วปั้นอีก วาดแล้ววาดอีก เพื่อให้ได้พระพุทธรูปที่งดงามมาให้ลูกศิษย์ได้กราบ
ได้ภาพพุทธประวัติที่สวยงามมาให้ลูกศิษย์ได้ศึกษา
จะมีความเคารพในพระพุทธเจ้าขนาดไหน

                        ๓) ในการเทศน์สอนของหลวงพ่อ ที่ได้เล่าไปข้างต้นว่า
ท่านลงเทศน์สอนญาติโยมแทบทุกคืน  ท่านก็มักจะเล่าพุทธประวัติ
หรือเรื่องราวการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์อยู่บ่อยครั้ง 
โดยที่ท่านจะศึกษาเรื่องราวเป็นอย่างดีก่อนที่จะเทศน์สอน 
ยิ่งไปกว่านั้น เวลาที่ท่านเทศน์สอน ท่านจะให้พระมหา ป.ธ. ๙ มานั่งฟังด้วยทุกครั้ง
เพื่อเป็นการตรวจทานเนื้อหาขณะที่ท่านเทศน์อีกชั้นหนึ่งด้วย 
ท่านให้ความเคารพในการแสดงธรรม
โดยเฉพาะเรื่องราวของพระบรมศาสดามากขนาดนี้ทีเดียว

            ปัญหาที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจประเด็นนี้ผิดไป !
หลวงพี่คิดว่าอยู่ที่การฟังเนื้อหาที่หลวงพ่อเทศน์สอนนี่แหละ 
เนื่องจากหลวงพ่อท่านมักจะใช้คำพูดง่าย ๆ ในการสอน
เพื่อให้คนฟังซึ่งมีทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ คนเฒ่าคนแก่ ฯลฯ ฟังแล้วเข้าใจง่าย 
หากได้ฟังเพียงบางช่วงบางตอน  ก็อาจทำให้ไม่เข้าใจเนื้อความทั้งหมด 
หลวงพี่อยากจะขอให้ลองฟังเนื้อหาที่หลวงพ่อเทศน์ให้มากขึ้น
ลองหาฟังดู,
แล้วฟังอย่างตั้งใจ
ฟังให้ครบทุกช่วงทุกตอน น่าจะแก้ไขความเข้าใจผิดได้ไม่ยากนะ

            ๒. ศาสนธรรม

            หลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินได้ฟังกันมาว่า วัดพระธรรมกายสอนผิด
บิดเบือนพระไตรปิฎก สอนให้ทำบุญเพื่อหวังสวรรค์ ฯลฯ 
ถ้าจะให้ตอบทั้งหมด ก็คงจำแนกประเด็นได้ไม่หวาดไม่ไหว
แต่หลวงพี่อยากจะให้ข้อสังเกตโดยรวม ๆ เป็น ๓ ประเด็น

                        ๑) ที่เราคุยกันว่า วัดพระธรรมกายสอนผิด บิดเบือนจากพระไตรปิฎกน่ะ
เคยอ่านพระไตรปิฎกบ้างไหม ?  

ไม่ใช่หลวงพี่จะว่าพวกเรานะ ... แต่เป็นเรื่องที่หลวงพี่เจอกับตัวเอง
และเป็นจุดเริ่มต้นให้หลวงพี่เริ่มศึกษาพระไตรปิฎก
และคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง 
เรื่องมันก็มีอยู่ว่า ...

สมัยเรียนมหาวิทยาลัย หลวงพี่จะชอบอ่านกระทู้ในห้องศาสนาของเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง
มีอยู่วันหนึ่ง ก็มีคนตั้งกระทู้ในทำนองว่า จับผิดธรรมกาย แอบบิดเบือนพระไตรปิฎก
ซึ่งมีรายละเอียดประมาณว่า ...
ในเว็บไซต์ของวัดพระธรรมกายมีให้บริการพระไตรปิฎกออนไลน์
ซึ่งพบว่า ข้อความในพระไตรปิฎกออนไลน์นั้น
ไม่ตรงกับพระไตรปิฎกออนไลน์ในเว็บไซต์อีก ๒ แห่ง
(ซึ่ง ๒ เว็บนี้มีข้อความตรงกัน มีเว็บของวัดพระธรรมกายเป็นเว็บที่ ๓ ที่ไม่ตรงกับชาวบ้าน)  เขาก็เอาข้อความมาแสดงเปรียบเทียบกัน ก็มีคนมาแสดงความเห็นในเชิงด่าว่าวัดบ้าง
ยินดีปรีดาที่จับผิดวัดได้บ้าง เป็นร้อย สองร้อยความเห็น 
แล้วก็มีความเห็นหนึ่งโผล่มาบอกว่า...
พระไตรปิฎกออนไลน์ในเว็บของวัดเป็นของฉบับมหามกุฏฯ
(ฉบับ มมร. พิมพ์พระไตรปิฎกรวมกับอรรถกถา ชุดหนึ่ง ๆ มี ๙๑ เล่ม)
ส่วนอีก ๒ เว็บเป็นของฉบับมหาจุฬาฯ (ฉบับ มจร. ชุดละ ๔๕ เล่ม)
ซึ่งในฉบับพิมพ์ก็มีข้อความไม่ตรงกันอยู่แล้ว 
รู้ไหมผลเป็นอย่างไร ...
คนที่เข้ามาด่าในตอนต้น ๆ ก็ อ๋อ อย่างนั้นก็แล้วไป 
!

หลวงพี่จึงได้ข้อคิดว่า ถ้าเราจะกล่าวหาใครว่าบิดเบือนพระไตรปิฎก
เราเองก็ต้องรู้ก่อนว่าในพระไตรปิฎกว่าไว้อย่างไร 
เราจะมาบอกว่า คนอื่นสอนผิด โดยที่เราเองก็ไม่รู้ว่า ที่ถูกเป็นอย่างไร
เป็นเรื่องที่สมควรไหม
? 
อยากให้ข้อคิดอย่างนี้เป็นเบื้องต้นก่อนนะ

                        ๒) ส่วนประเด็นคำสอนเรื่องอื่น ๆ นั้น  เฉพาะที่หลวงพี่เคยถูกถามนะ
หลวงพี่กล้ายืนยันว่า ทางวัดไม่ได้สอนผิดไปจากที่มีในพระไตรปิฎก 
แต่ที่ทำให้เข้าใจผิดกัน หรือเกิดความสงสัยอยู่บ้างนั้น 
ในมุมมองของหลวงพี่คิดว่า เป็นเพราะพวกเราพูดถึงตัวหลักธรรมคำสอน
โดยไม่ได้พิจารณาถึงจุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของคำสอนนั้น ๆ มาประกอบด้วย

                        นพระพุทธศาสนา ได้สอนเรื่องประโยชน์ ๓ หรือเป้าหมายชีวิต ๓ ระดับ
ซึ่งประกอบไปด้วย...
ประโยชน์ในชาตินี้ คือ มีเป้าหมายเป็นไปเพื่อความสุขในภพชาตินี้
ประโยชน์ในชาติหน้า คือ มีเป้าหมายเพื่อให้ได้เกิดใหม่ในสุคติภูมิ
และประโยชน์อย่างยิ่ง คือ มีเป้าหมายเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน 


คำสอนในพระพุทธศาสนาก็ย่อมเป็นไปเพื่อเป้าหมาย ๓ ระดับเหล่านี้ 

บางคำสอนก็เป็นไปเพื่อให้ได้รับความสุขในชาตินี้ เช่น ...
หลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ศีล ๕ ทิศ ๖ ฯลฯ
ผู้ที่อยากจะมีความสุขในชีวิตการงาน ครอบครัว ฯลฯ ในปัจจุบันชาติ
ก็สามารถนำไปปฏิบัติได้ 

บางคำสอนก็เป็นเรื่องภพภูมิต่าง ๆ สอนให้ละเว้นจากความชั่ว
จะได้ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ
และให้ตั้งใจทำความดีเพื่อให้ไปเกิดในสวรรค์ ยกตัวอย่างเช่น ...
เรื่องราวในคัมภีร์เปตวัตถุ ว่าด้วยเรื่องเปรตและบุรพกรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรต 
คัมภีร์วิมานวัตถุ ว่าด้วยเรื่องเทวดาในวิมานต่าง ๆ และบุรพกรรม ฯลฯ 
ผู้ที่ปฏิบัติตามก็ย่อมได้รับอานิสงส์ในสัมปรายภพ 

และบางคำสอนก็มุ่งเน้นในเรื่องมรรคผลนิพพาน เช่น ...
เรื่องการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ
ที่ปรากฏในคัมภีร์ชาดกและจริยาปิฎก 
เรื่องการสร้างบารมีของพระอรหันต์ ในคัมภีร์อปทาน ฯลฯ
ผู้ที่มุ่งหวังการบรรลุมรรคผลนิพพาน
ก็ให้น้อมนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติ อย่างนี้เป็นต้น

                        คราวนี้ ถ้าเราจับเอาประเด็นคำสอน... 
โดยมิได้คำนึงถึงเป้าหมาย ๓ ระดับที่ว่ามา จะเกิดอะไรขึ้น ...
หลวงพี่จะลองยกตัวอย่างให้พอเห็นภาพนะ เช่น ...
คำสอนเรื่องการทำทาน เขาก็มักจะบอกว่า ...
วัดพระธรรมกายสอนให้ทำบุญมาก ๆ ทำบุญหมดตัว ฯลฯ
ต่างจากในพระสูตรที่สอนว่า ให้ทำทานแต่พอดี ไม่ให้กระทบตนเอง
ทำทานแล้วต้องไม่เดือดร้อน 
ถ้ายึดตามที่พระสูตรนี้ว่าไว้ แล้วเรื่องที่พระเวสสันดรบริจาคทรัพย์ต่าง ๆ จนหมด
เท่านั้นยังไม่พอ ยังบริจาคลูกเมียด้วย มันหมายความว่าอะไร 
นี่ไม่ใช่แค่เดือดร้อนตัวเองนะ เดือดร้อนถึงลูกเมียด้วย 
หรือว่า เรื่องการเอาสวรรค์มาล่อให้ทำบุญเยอะ ๆ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง 
ถ้าอย่างนั้นแล้ว เรื่องราวในคัมภีร์วิมานวัตถุ ที่เล่าว่าถวายทานด้วยสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้ว
จะทำให้มีทิพยสมบัติ มีวิมานในสวรรค์แบบนั้นแบบนี้ เช่น
ตอนเป็นมนุษย์ถวายแกงปู  พอตายไป ก็มีประติมากรรมปูทองคำอยู่หน้าทิพยวิมาน 
อย่างนี้แปลว่าอะไร 
จะบอกว่า คัมภีร์วิมานวัตถุสอนผิดใช่ไหม
หรือว่าคำสอนในพระไตรปิฎกขัดแย้งกันเองเสียแล้ว

                        แต่ถ้ามองในมิติของเป้าหมายชีวิต ๓ ระดับด้วย เราจะเข้าใจมากขึ้น 
บางคนทำทานเพียงหวังความสุขในชาตินี้ มองว่าเป็นการแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน
ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ถ้ามีเป้าหมายในระดับนี้
พระพุทธศาสนาก็สอนให้ทำทานโดยที่ไม่ให้ตนเองต้องเดือดร้อน
เช่น หลักสังคหวัตถุ ๔ 
บางคนทำทานเพื่อเป้าหมายในสัมปรายภพ ตายแล้วให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ 
พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนเรื่องทานในอีกแง่มุมหนึ่ง
อย่างเช่นในทานสูตรแห่งคัมภีร์อังคุตตรนิกาย จะกล่าวถึงว่า ทำทานด้วยเจตนาแบบใด
จึงจะทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นใด เป็นต้น 
แต่ถ้าเป็นการทำทานในระดับสูงสุด
พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนอย่างเรื่องพระเวสสันดรนั่นแหละ 

หลวงพี่คิดว่า ถ้าพวกเราศึกษาหลักธรรมคำสอน โดยพิจารณาบริบทแวดล้อม
หรือดูจุดมุ่งหมายของคำสอนนั้น ๆ ประกอบด้วย ก็จะช่วยลดความเข้าใจผิด
ลดความสงสัยในคำสอนของวัดพระธรรมกายในประเด็นต่างๆ ลงไปได้มาก 

            สำหรับคำสอนในเรื่องอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน 
อยากให้พวกเราพิจารณาก่อนว่า คำสอนของวัดพระธรรมกายเรื่องนั้น ๆ
เป็นไปเพื่อเป้าหมายระดับใด  เวลาจะตัดสินถูกผิด
ก็ให้เอาคำสอนในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่องนั้น ที่เป็นไปเพื่อเป้าหมายระดับเดียวกัน
มาเป็นตัวพิจารณาตัดสิน อย่างนี้จึงจะได้คำตอบที่ถูกต้อง 
ถ้ามัวแต่เอาคำสอน ซึ่งต่างฝ่ายก็อ้างว่ามีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้งนั้น
แต่เป็นไปเพื่อเป้าหมายคนละระดับ มาพิจารณาร่วมกัน
ก็จะเป็นปัญหาให้ถกเถียงกันอย่างทุกวันนี้แหละ

            ๓. ศาสนบุคคล

            เรื่องนี้คงไม่มีประเด็นที่เป็นปัญหาอะไร
เพราะแม้แต่ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไม่ชอบวัดพระธรรมกาย ก็ยังยอมรับว่า
บุคลากรของวัดพระธรรมกายใช้ได้ ค่อนข้างมีคุณภาพ 
แต่หลวงพี่อยากจะพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับศาสนิก
หรือญาติโยมที่มาทำบุญวัดพระธรรมกายสักหน่อย เนื่องจากมักจะมีประเด็นว่า
คนที่มาทำบุญที่วัดพระธรรมกาย หลาย ๆ คนต้องประสบปัญหาครอบครัว
ทะเลาะเบาะแว้งกันบ้าง มีปัญหาเรื่องทรัพย์สินกับญาติพี่น้องบ้าง
ทางวัดจะอธิบายประเด็นนี้อย่างไร
            เวลาที่คุณครูถามหลวงพี่ในประเด็นนี้ หลวงพี่จะตอบด้วยการอุปมา สมมติว่า
คุณครูสอนเด็กนักเรียน ห้องหนึ่งก็ประมาณ ๒๐ – ๓๐ คน ถามว่า
เด็กทุกคนเข้าใจที่คุณครูสอนเหมือนกันทั้งหมดไหม ก็ไม่ใช่
มันจึงมีเกรดตั้งแต่ ๔ ถึง ๐ นั่นแหละ  ถ้ามีเด็กติด ๐ ในห้องสัก ๒ – ๓ คน
แล้วมาเหมารวมกล่าวหาว่า คุณครูสอนแย่มาก ไม่ได้เรื่องเลย
อย่างนี้ยุติธรรมกับคุณครูไหม 

กรณีของญาติโยมที่มาวัดพระธรรมกายก็คล้าย ๆ กันนะ 
หลวงพี่ก็ไม่ทราบว่า ญาติโยมแต่ละท่านฟังธรรมแล้ว
จะเข้าใจอย่างที่หลวงพ่อ หรือพระอาจารย์ต้องการสื่อสารมากน้อยแค่ไหน 
แต่หลวงพี่ก็มั่นใจว่า คงไม่ได้เป็นแบบนี้กับทุกคน ทุกครอบครัว 
พวกเราก็คงเคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวของผู้ที่มาทำบุญที่วัดพระธรรมกายแล้ว
ชีวิตดีขึ้น ครอบครัวมีความสุขมากขึ้น  ก็อยากจะให้ลองศึกษากรณีของคนเหล่านี้ดูบ้าง
หลวงพี่คิดว่า ถ้าเราได้สอบถามทั้งนักเรียนเกรด ๐ ทั้งนักเรียนเกรด ๔ ว่า ...
คุณครูสอนอะไรบ้าง จะทำให้เราได้ข้อสรุปชัดเจนขึ้นว่า คุณครูสอนดีหรือไม่ดี อย่างไร

            ๔. ศาสนสถานและศาสนวัตถุ

            ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนสถานของวัดพระธรรมกาย
ส่วนใหญ่จะมีประเด็นหลัก ๆ อยู่ ๒ ประเด็น คือ ...
เรื่องรูปทรงที่อาจจะรู้สึกว่าแตกต่างจากวัดอื่น ๆ ตรงนี้รวมถึงศาสนวัตถุ
เช่น พระพุทธรูปด้วย  กับเรื่องขนาดที่พวกเราอาจจะคิดกันว่า วัดต้องดูสมถะ
คือเล็ก ๆ ไม่ใช่สร้างเสียใหญ่โตเหมือนวัดพระธรรมกาย
            ๑. ประเด็นเรื่องรูปทรง  ต้องบอกก่อนว่า จริง ๆ แล้ว รูปทรงของศาสนสถาน
หรือศาสนวัตถุ ไม่ได้มีกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ในคัมภีร์ว่า จะต้องสร้างโบสถ์ทรงนี้
พระพุทธรูปต้องรูปร่างแบบนี้เท่านั้น  เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
ล้วนขึ้นอยู่กับนายช่างผู้สร้าง ซึ่งก็จะเป็นไปตามศิลปะในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละยุคสมัย 

ในทางวิชาการ เขาจึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่าพุทธศิลป์
ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธรูป พวกเราคงเคยได้ยินว่า ...
พระพุทธรูปองค์นี้ ศิลปะสุโขทัย ศิลปะทวารวดี ศิลปะเชียงแสน ฯลฯ
ซึ่งแน่นอนว่า รูปร่างย่อมไม่เหมือนกัน เขาจึงสามารถจำแนกความแตกต่างได้
หรือว่า เจดีย์ พวกเราคิดว่า พระปฐมเจดีย์ พระธาตุพนม พระบรมธาตุไชยา ฯลฯ
รูปทรงเหมือนกันไหมล่ะ
ยิ่งไปกว่านั้น รูปทรงเจดีย์ของบ้านเราก็ไม่ค่อยเหมือนกับเจดีย์โบราณที่อินเดียนะ
รู้กันบ้างไหม ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า ...
ไทยเรารับเอาพระพุทธศาสนามาจากลังกาอีกทอดหนึ่ง
รูปทรงเจดีย์ของไทยจึงค่อนไปทางลังกา
ผสมผสานกับศิลปะในดินแดนสุวรรณภูมิแต่ละยุค 

เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นหลวงพี่สรุปได้ว่า ...
ไม่ใช่ว่าศาสนสถานและศาสนวัตถุของวัดพระธรรมกายแตกต่างจากวัดอื่น ๆ
แต่ว่า ศาสนสถาน ศาสนวัตถุของแต่ละวัด ล้วนแล้วแต่มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับศิลปะในแต่ละยุคสมัย ในแต่ละพื้นที่ต่างหาก


            ในกรณีของวัดพระธรรมกายก็เช่นเดียวกัน
แต่ละอาคาร แต่ละงานพุทธศิลป์ ล้วนมีแนวคิด มีที่มาที่ไปทั้งสิ้น 
อย่างเช่น โบสถ์  เคยมีหลายท่านบอกว่าเหมือนโบสถ์คริสต์ 
ถ้าพวกเราเคยเห็นโบสถ์คริสต์ก็คงจะงงนะ ว่าเหมือนตรงไหน 
เพราะจริง ๆ แล้ว แบบของโบสถ์วัดพระธรรมกาย
คือแบบเดียวกันกับพระอุโบสถของวัดเบญจมบพิตร
แต่ตัดพวกใบระกา หางหงส์ ฯลฯ ออกไป เพื่อที่จะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย
และให้ง่ายต่อการซ่อมแซม 
แนวคิดหลัก ๆ ในการก่อสร้างของวัดพระธรรมกาย หลวงพ่อท่านให้ไว้ว่า ...
ประหยัดสุด ประโยชน์สูง 
อาคารอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน  ถ้าจะให้ลงในรายละเอียด
ก็คงต้องมาชมวัดกันสักรอบอย่างที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น

            ๒. ประเด็นเรื่องขนาด  พวกเราอาจจะไม่ทราบกันว่า จริง ๆ แล้ว
ในพระวินัยปิฎกมีการกำหนดขนาดเขตสีมาเอาไว้นะ
ท่านบอกว่า เขตสีมานั้น อย่างเล็กที่สุดต้องจุพระได้ ๒๑ รูป
คือ มีพื้นที่พอที่จะให้พระสงฆ์นั่งทำสังฆกรรมได้  อย่างใหญ่ที่สุด ไม่เกิน ๓ โยชน์

ไม่อย่างนั้น เวลาทำสังฆกรรมจะไม่ทั่วถึงกัน 
โยชน์หนึ่งคิดเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ๓ โยชน์ก็ ๔๘ กิโลเมตร
ซึ่งถ้าตีความแบบตรงตัว เขตสีมาก็จะหมายถึงเขตโบสถ์นั่นเอง 
แต่ถ้าเทียบในบริบทปัจจุบันก็น่าจะหมายถึงเขตของวัด 
เพราะฉะนั้น ในเบื้องต้นคงจะพอได้ข้อสรุปแล้วว่า
ขนาดของอาคารต่าง ๆ ของวัดพระธรรมกาย
ไม่ได้ใหญ่เกินกว่าที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดเอาไว้แต่อย่างใด 
ยืนยันกันด้วยพระวินัยอย่างนี้ก่อนนะ


            หลวงพี่อยากจะเล่าเสริมสักนิดหนึ่ง เพื่อเป็นข้อคิดให้กับพวกเรา 
ถ้าพวกเราได้ศึกษาวัดต่าง ๆ ในสมัยพุทธกาลที่ปรากฏในคัมภีร์ จะพบว่า...
วัดในสมัยพุทธกาล ล้วนแล้วแต่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ทั้งนั้น

แต่ใหญ่ในระดับที่เหมาะสมกับจำนวนพระภิกษุที่อยู่ กับจำนวนญาติโยมที่มาฟังธรรม 

หลวงพี่จะขอยกตัวอย่างก็แล้วกัน พวกเรามักจะฟังกันมาว่า ...
วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ วัดเวฬุวัน
หรือสวนป่าไผ่ที่พระเจ้าพิมพิสารถวายแด่พระพุทธเจ้า 
แล้วก่อนหน้านั้น ทราบไหมว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน
ตอนที่พระเจ้าพิมพิสารได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าครั้งแรก
ทรงฟังที่สวนตาลหนุ่มชื่อว่า ลัฏฐิวัน พอจำกันได้ไหม 
ตอนนั้นในลัฏฐิวันมีใครอยู่บ้าง พระพุทธเจ้า ๑
พระอุรุเวลกัสสปะและบริวารอีก ๑
,๐๐๐ องค์
รวมฝ่ายพระก็ ๑
,๐๐๑ องค์ 
ฝ่ายญาติโยมล่ะ พระเจ้าพิมพิสารมาฟังธรรมพร้อมด้วยบริวาร ๑๒ นหุต 
นหุต แปลว่า หมื่น  ๑๒ นหุต ก็แสนสอง 

ถ้าเราบอกว่า วัดเวฬุวัน คือวัดแห่งแรก 
วัดลัฏฐิวันก็คงเป็นได้เพียงวัดชั่วคราวเท่านั้น 
วัดชั่วคราวในพระพุทธศาสนา จุพระได้พันองค์ จุโยมมาฟังเทศน์ได้หลักแสนคนนะ 
ถามว่าใหญ่ไหม ?

หลวงพี่ว่าใหญ่พอเหมาะสมกับจำนวนพระสงฆ์ในขณะนั้น 
แล้วพวกเราคิดว่า วัดเวฬุวันกับลัฏฐิวัน วัดไหนจะใหญ่กว่ากัน 
คิดว่าพระเจ้าพิมพิสารจะถวายที่ให้มีขนาดเล็กลงหรือ 
ถ้าพวกเรายังพอจำพุทธประวัติกันได้
ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเวฬุวันไปโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์
มีพระสงฆ์ตามเสด็จจำนวน ๒ หมื่นรูปนะ 
แสดงว่า วัดเวฬุวันจุพระได้อย่างน้อย ๒ หมื่นนะ 
นี่ยังไม่ได้พูดถึงวัดอื่น ๆ เลย
เอาแค่วัดแรก ๆ ในขณะเพิ่งเริ่มประกาศพระศาสนา
พระสงฆ์ยังมีไม่มากนัก ญาติโยมยังไม่ค่อยรู้จักพระพุทธศาสนาเท่าไรนัก ยังใหญ่ขนาดนี้ 
แล้ววัดที่สร้างต่อ ๆ มา ซึ่งมีจำนวนพระสงฆ์เพิ่มมากขึ้น
ญาติโยมมาฟังธรรมมากขึ้น อย่างวัดพระเชตวัน จะใหญ่ขนาดไหน

            ที่เล่าตรงนี้ ก็เพราะอยากจะย้ำกับพวกเราอีกครั้งว่า ...
แนวคิดในการสร้างวัดพระธรรมกายนั้น
พระเดชพระคุณหลวงพ่อทั้งสองได้ยึดตามพระวินัย
ตามหลักคิดในการสร้างวัดในสมัยพุทธกาลที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ 
และก็อยากจะย้ำให้พวกเราตั้งใจศึกษาพระไตรปิฎกด้วยตนเอง
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่เขาเล่าต่อ ๆ กันมา ซึ่งอาจจะทำให้ได้ข้อมูลผิด ๆ ไปนะ 


เอาเข้าจริง ๆ วัดพระธรรมกายก็เพียงแค่สร้างให้มีขนาดพอที่จะรองรับจำนวนพระเณร
จำนวนญาติโยมที่มาวัดเท่านั้น 

ศาลาสำหรับฟังธรรมหลังแรก มีขนาดพอจุคนได้ ๕๐๐ คนเท่านั้นนะ
แต่ต่อมามีคนมาวัดเพิ่มขึ้น ก็ต้องขยับขยาย สร้างศาลาขนาดใหญ่ขึ้น จุได้ ๑ หมื่นคน
ก็ปรากฏว่า คนมาล้นศาลาอีก จึงต้องขยายต่อมาจนเป็นอาคารต่าง ๆ ในพื้นที่ ๒ พันไร่
ในปัจจุบัน  ไม่ใช่ว่าคิดจะสร้างให้ใหญ่โตโอฬาร เพื่ออวดความหรูหราแต่อย่างใด 

            ๕. ศาสนพิธี

            ประเด็นเรื่องศาสนพิธีก็คงคล้าย ๆ กับเรื่องศาสนสถาน 
หลาย ๆ คนอาจจะรู้สึกว่า พิธีกรรมของวัดพระธรรมกายแตกต่างไปจากวัดอื่น ๆ 
ตรงนี้ หลวงพี่ก็คงต้องตอบเหมือนกับเรื่องศาสนสถานว่า...
ศาสนพิธี ก็คือ พิธีกรรมในการทำบุญของพุทธศาสนิกชนในแต่ละพื้นที่
ซึ่งย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ตามวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
และค่านิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น งานบวช
ถามว่า แต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ขั้นตอนพิธีกรรมงานบวชเหมือนกันไหม 
หรืออย่างงานทอดกฐินก็เหมือนกัน แต่ละวัดมีพิธีกรรมเหมือนกันไหม 
จริง ๆ แล้ว ๒ งานนี้ ทุกวัดควรจะจัดเหมือนกันทุกขั้นตอนนะ
เพราะเป็นสังฆกรรมที่มีกำหนดไว้ในพระวินัย 
แต่ส่วนใหญ่แล้วเราก็จะเห็นว่า ...
แต่ละวัดก็จะมีขั้นตอนพิธีกรรมปลีกย่อยเพิ่มเติมเข้ามา
และแตกต่างกันไปตามความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น 
หลวงพี่ก็คงสรุปเหมือนเดิมว่า ไม่ใช่ว่าพิธีกรรมของวัดพระธรรมกายแตกต่างจากวัดอื่น 
แต่พิธีกรรมของแต่ละวัดแตกต่างกันอยู่แล้วต่างหาก

            สำหรับพิธีกรรมของทางวัดพระธรรมกายที่เป็นที่สงสัย
หรือวิพากษ์วิจารณ์กันค่อนข้างมาก ก็คงจะเป็นพิธีบูชาข้าวพระ
ซึ่งเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยภัตตาหาร  ถามว่า พิธีกรรมในลักษณะนี้
วัดอื่น ๆ หรือที่อื่น ๆ มีจัดไหม  พวกเราเคยได้ยินชื่อพิธีถวายข้าวพระพุทธบ้างไหม 
เวลาที่เขาถวายภัตตาหารพระ เขาก็จะจัดสำรับอาหารไปวางไว้ที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา
แล้วกล่าวคำถวายว่า อิมัง สูปะพะยัญชะนะ ฯลฯ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
ก่อนที่จะถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ต่อไป 

ดังนั้น พิธีบูชาข้าวพระที่วัดพระธรรมกายจัดเป็นประจำทุกเดือน
ก็ไม่ได้ผิดแผกไปแต่อย่างใด  นอกจากนี้นะ หลวงพี่เองรู้สึกชอบใจ
ที่วัดพระธรรมกายจัดสำรับภัตตาหารบูชาพระพุทธเจ้าอย่างประณีต
ซึ่งหลวงพี่คิดว่า เป็นเครื่องยืนยันถึงความเคารพในพระพุทธเจ้า
ของชาววัดพระธรรมกายได้ดีนะ


            ส่วนพิธีกรรมอื่น ๆ ที่เหลือของทางวัด ก็คงมิได้แตกต่างจากวัดอื่น ๆ
ในแง่หลักศาสนพิธี ไม่ว่าจะเป็นพิธีตักบาตร ถวายสังฆทาน
พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญต่าง ๆ แต่อาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดปลีกย่อย
ซึ่งหลวงพี่เข้าใจว่า มีสาเหตุเนื่องด้วยระบบการจัดการสาธุชน
เพราะว่า ในแต่ละพิธีกรรมของทางวัด จะมีผู้มาร่วมงานค่อนข้างมาก
เมื่อเทียบกับวัดอื่น ๆ  ทำให้ต้องปรับรูปแบบระเบียบพิธีให้เหมาะสม
ยกตัวอย่างเช่น พิธีถวายสังฆทาน
หากเป็นวัดอื่น ๆ เวลาจัดที่นั่งรับรองให้กับคณะเจ้าภาพ ก็จะไม่ยุ่งยากอะไร
เพราะมีจำนวนไม่มากและรู้จักหน้าค่าตากันดี 
แต่ถ้าเป็นที่วัดพระธรรมกาย คณะเจ้าภาพมีเป็นจำนวนมาก
รูปแบบการจัดที่นั่งให้กับเจ้าภาพจึงแตกต่างจากวัดอื่น ๆ บ้าง

ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากเจ้าภาพมีมาก ผู้ที่มาช่วยงานวัด มาช่วยต้อนรับเจ้าภาพ
ก็ยากที่จะรู้จักเจ้าภาพได้ครบทุกท่าน  ทางวัดจึงใช้โบว์สัญลักษณ์
เพื่อช่วยให้ผู้ที่ทำหน้าที่ต้อนรับ สามารถเชิญเจ้าภาพเข้าพื้นที่นั่งได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าจะไม่รู้จักหน้าตากันเลย โดยอาศัยดูจากโบว์สัญลักษณ์ที่เขาติดมานั่นเอง 
บางท่านก็เข้าใจผิด คิดไปว่าเป็นการแบ่งชนชั้นฐานะของคนทำบุญเสียอีก
ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของระบบการจัดการ
เพื่อให้สามารถประกอบพิธีกรรมได้สะดวก  

หรืออย่างพิธีเวียนเทียน 
หากเป็นวัดอื่น ๆ พวกเราก็คงจะเห็นภาพคนที่มาร่วมงานเดินเวียนประทักษิณ-
ร่วมกันทั้งหมด แต่ถ้าเป็นที่วัดพระธรรมกาย ซึ่งมีคนมาร่วมงานนับแสน
จะให้เดินเวียนเทียนร่วมกันทั้งหมด ก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุ หรือพลัดหลงกันได้ง่าย
และอาจเกินเวลาไปมาก
ทางวัดจึงจัดให้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง และสะดวกที่จะเดินทำพิธีจำนวนหนึ่ง
เป็นผู้แทนเดินเวียนประทักษิณ 
ส่วนท่านอื่น ๆ อย่างเช่น เด็กและผู้สูงอายุ ก็จะนั่งจุดโคมประทีปอยู่กับที่
เพื่อเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น และป้องกันการพลัดหลง
ประกอบพิธีกรรมเสร็จในเวลาอันสมควรนั่นเอง 
คิดว่าคงพอจะเห็นภาพ พอจะเข้าใจในประเด็นนี้กันแล้วนะ 

ฐานวีโร ภิกขุ 
-------------------------------


น่าจะพอช่วยให้เราได้เห็นภาพวัดพระธรรมกาย ได้ชัดขึ้นนะคะ


บันทึกเรื่องเล่ามาแบ่งปัน โดย   บัว  อรุโณทัย
24 มกราคม 2560







39 ความคิดเห็น:

  1. สาธุครับ แจกรายละเอียดได้ดีมากๆครับ

    ตอบลบ
  2. กราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์เป็นอย่างสูงเจ้าค่ะ ที่เมตตาตอบคำถามให้อย่างละเอียด ชัดเจน ทำให้ผู้ที่ไม่รู้ ได้รู้เรื่องราวที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายได้ดียิ่งขึ้น กราบสาธุๆๆเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  3. สาธุ สาธุ สาธุ ครับ

    ตอบลบ
  4. วัดพระธรรมกายสร้างศาสนสถาน เพื่อใช้งานพระพุทธศาสนา และสอนศีลธรรมพร้อมการปฎิบัติํธรรม ให้คนในประเทศและทั่วโลก

    ตอบลบ
  5. กราบขอบพระคุณพระอาจารย์เจ้าค่ะ กระจ่างสุดๆ
    ถ้าใครยังสงสัยต้องให้มาศึกษาเองแล้ว

    ตอบลบ
  6. กราบขอบพระคุณพระอาจารย์เจ้าค่ะ กระจ่างสุดๆ
    ถ้าใครยังสงสัยต้องให้มาศึกษาเองแล้ว

    ตอบลบ
  7. สาธุๆๆ ตอบคำถามได้ละเอียดและชัดเจน เจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  8. สาธุๆๆ ตอบคำถามได้ละเอียดและชัดเจน เจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  9. สาธุ กราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ หวังว่าคนที่เข้าใจวัดพระธรรมกายไม่ถูกต้องคงเข้าใจแจ่มแจ้งสว่างขึ้นบ้าง

    ตอบลบ
  10. สาธุ กราบอนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ หวังว่าคนที่เข้าใจวัดพระธรรมกายไม่ถูกต้องคงเข้าใจแจ่มแจ้งสว่างขึ้นบ้าง

    ตอบลบ
  11. เข้าใจอย่างชัดแจ้ง ถ้าเอาตัวเอาใจไปสัมผัส อย่างไม่มีอคติ
    วัดนี้สอน ถูกต้อง ไม่ขัดกับสิ่งที่เราเป็น แต่สอนให้เราพิจารณา
    ในสิ่งที่ตัวเอง ทำแล้วทุกข์ แล้วจะทำทำไมเป็นต้น

    ตอบลบ
  12. กราบสาธุเจ้าค่ะอนุโมทนาบุญค่ะหวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจบ้างนะค่ะ

    ตอบลบ
  13. คนทำดีต้องได้ดีไม่ต้องกลัว
    คนทำชั่วชอบทำชั่วมั่วจนบ้า
    คนทำดีมีความสุขสมอุรา
    คนชั่วช้าหาแต่ทุกข์อยู่ร่ำไป
    คนทำดีย่อมได้ดีมีอยู่ทั่ว
    คนทำชั่วย่อมได้ชั่วมั่วอยู่ได้
    คนทำดีมีความสุขสบายใจ
    คนชั่วช้าไม่ได้สุขตลอดกาล
    คนทำดีจึงได้ดีที่สุดชัวร์
    คนทำชั่วจึงได้ชั่วน่าสงสาร
    คนทำดีมีที่สุดคือนิพพาน
    คนชั่วมารอวสานสู่โลกันต์...

    ตอบลบ
  14. กราบสาธุสาธุเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  15. ชัดเจน ประเทืองปัญญามีเหตุและผลค่ะ

    ตอบลบ
  16. สาธุๆๆค่ะ...ชัดเจนเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  17. สาธุๆๆ ชัดเจนค่ะ

    ตอบลบ
  18. สาธุค่ะ พระอาจารย์ตอบ+อธิบายได้อย่างเคลียร์คัดชัดเจนเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  19. สาธุๆๆ ชัดเจนค่ะ

    ตอบลบ
  20. กราบอนุโมทนาบุญด้วยนะคะ ท่านทำให้เห็นภาพวัดพระธรรมกายได้กระจ่างชัดค่ะ

    ตอบลบ
  21. อ่านแล้วเห็นภาพ เข้าใจได้ง่าย กระจ่างแจ้งเลยค่ะ แชร์วนไปให้โลกได้รับรู้กันค่ะ

    ตอบลบ
  22. สาธุ กราบขอบพระคุณ กราบอนุโมทนาบุญกับพระอาจารย์เจ้าค่ะ ที่อธิบายได้อย่างแจ่มแจ้ง ละเอียด ชัดเจน สาธุเจ้าค่ะ

    ตอบลบ
  23. สาธุ ดีมากๆๆๆๆเลยค่ะ แจ่มแจ้่งจริงหนอ

    ตอบลบ
  24. กราบถวายกำลังใจแด่คณะสงฆ์ค่ะ สาธุค่ะ กราบขอบพระคุณที่กรุณาชี้แจงอย่างละเอีย มีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
  25. สาธุครับ ต้องเข้ามาอ่าน เข้ามาสัมผัสแล้วจะเข้าใจหลวงพ่อ และเข้าใจวัดว่า ทำทุกอย่างเพื่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงเอย.

    ตอบลบ